นายคณาพจน์ กล่าวว่า จากการพูดคุยกับผู้ประกอบการรายย่อย อาทิ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ผู้ประกอบการร้านค้า ร้านขายของชำ ตลอดจนร้านขายอาหารริมทาง ต่างได้รับผลกระทบจากการที่รัฐบาลไม่มีแผนในการฉีดวัคซีนที่ชัดเจนและทั่วถึง ทำให้ลูกค้าลดลงเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้รายได้น้อยลง ตลอดจนบางร้านถึงกับต้องปิดกิจการ เพราะทนรับกับค่าใช้จ่ายไม่ไหว ทั้งค่าจ้างแรงงาน และค่าเช่า จึงอยากให้ภาครัฐมีแผนการรองรับที่ชัดเจน และออกมาตรการเยียวยาที่เข้าถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบรายย่อยให้มากกว่านี้
ด้านนางสาวชยิกา กล่าวว่า การที่พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตั้งเป้าเรื่องการฉีดวัคซีน เป็นนิมิตรหมายที่ดี แต่ขอตั้งคำถามด้วยความเป็นห่วงถึงแผนวัคซีน 120 วัน และขอความชัดเจนว่า ช่วงเวลาในการเปิดประเทศจะเปิดเมื่อฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ที่กี่เปอร์เซนต์ของประชากร เพราะที่ผ่านมาเป้าอาจจะชัด แต่ยังไม่เห็นแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนของรัฐบาล หากเปิดประเทศเร็วเกินไปเกรงว่าจะเป็นการนำประเทศไปสู่หายนะ มากกว่าชัยชนะของประชาชน ซึ่งเราเห็นบทเรียนมาจากหลายๆ ประเทศแล้วที่ผ่อนปรนมาตรการต่างๆ เร็วเกินไป ในจังหวะที่ภูมิคุ้มกันของคนในประเทศยังไม่มากพอ เป็นเหตุให้ต้องกลับไปปิดประเทศอีก ซึ่งจะกลายเป็นการซ้ำเติมทั้งจำนวนผู้ติดเชื้อและผลกระทบทางเศรษฐกิจมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
"สิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งทำคือ ต้องเร่งฉีดวัคซีนให้คนที่ได้รับวัคซีนเข็มแรกและผู้ที่จัดเป็นกลุ่มเสี่ยง ตลอดจนผู้มีรายได้น้อย ซึ่งเห็นได้จากการลงพื้นที่สอบถามชาวบ้านที่มารับแจกข้าวสารอาหารแห้งในวันนี้พบว่า ประชาชนกว่า 300 คนนั้น มีเพียงแค่ 10 คนเท่านั้นที่ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มแรก จึงอยากเตือนรัฐบาลว่าความเชื่อมั่นของประชาชนไม่ได้เกิดจากการตั้งเป้าเพื่อขายฝันเพียงอย่างเดียว แต่ต้องตั้งเป้าแล้วทำให้เกิดขึ้นได้จริงด้วย" นางสาวชยิกากล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น