นายวิชาญ มีนชัยนันท์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการสาธารณสุข
และประธานโซน 3 กรุงเทพ กล่าวว่า
จากการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมศูนย์ประสานงานพรรคเพื่อไทยจำนวน 27 เขต
จากศูนย์ประสานงาน 50 เขตในกรุงเทพมหานคร พบว่า สถานการณ์โควิค
มีอัตราการติดเชื้อเพิ่มขึ้นรวดเร็วทุกวัน มีผู้ติดเชื้อกักตัวอยู่ที่บ้านรอคอยเตียงพยาบาล
ซึ่งโรงพยาบาลทุกแห่งเต็ม ไม่สามารถรับคนติดเชื้อเพิ่มได้อีก
เพราะมีบุคลาการไม่เพียงพอ ต่อให้สร้างโรงพยาบาลสนามเพิ่มขึ้นอีกเท่าใด
ก็ไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นวันละหลายพันคนต่อวันขณะที่บุคลากรมีจำกัดเท่าเดิม จากการพูดคุยกับแพทย์ พยาบาล
และโรงพยาบาลที่ประสานการส่งตัวผู้ป่วยตลอดสองเดือน พบกว่า
ตัวเลขผู้ติดเชื้อจริงที่ได้ยินมีมากกว่าจำนวนที่ประกาศรายวันจาก ศบค.
จนทุกวันนี้ทุกหน่วยตรวจเชื้อ ไม่อยากที่จะตรวจเชื้อเพิ่มเพราะยิ่งตรวจยิ่งเจอ
อัตราการพบเชื้อทุกวันนี้จากที่สอบถามจากโรงพยาบาลประมาณร้อยละ 32
จากผู้เข้ารับการตรวจเชื้อ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่กล้าพูดกัน
จึงทำให้เริ่มได้ยินหมอและพยาบาลหลายคนพูดแล้วว่าถึงเวลาที่จะต้องเลือกบางกลุ่ม
และปล่อยบางกลุ่ม ซึ่งเป็นจุดวิกฤตที่เราไม่ต้องการได้ยิน เพราะสิ่งนี้กำลังบอกว่าระบบสาธารณสุขไทยกำลังพังทลายลง
.
นายวิชาญ กล่าวต่อว่า
ในสถานการณ์ที่ผู้ป่วยมีมากกว่าจำนวนเตียงและบุคลากรทางการแพทย์ จึงขอเสนอว่า
เมื่อภาครัฐจัดทำมาตรการกักตัวเองที่บ้าน หรือ (Home Isolation) แต่มาตรการนี้จะทิ้งเปล่า ถ้าไม่มีแพทย์ พยาบาลช่วยดูแลประสานงาน
ตนจึงเสนอให้ใช้คลินิกชุมชนอบอุ่น
หรือที่ชาวบ้านเรียกคลินิกบัตรทองสามสิบบาทรักษาทุกโรค จำนวน 197 แห่ง
ภายใต้การดูแลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
ครอบคลุมพื้นที่ทั่วกรุงเทพและสมาชิกในชุมชนมากกว่าล้านคน
เป็นคลินิกปฐมภูมิเข้ามาดูแล เพราะมีบุคลากรการแพทย์ พยาบาล สาธารณสุข อาสาสมัคร
ซึ่งรู้จักพื้นที่และทุกคนในชุมชน
เมื่อพบผู้ติดเชื้อในชุมชน ก็ทำพิกัด จัดทำประวัติผู้ติดเชื้อ จัดยาโดยสามารถใช้ยาฟ้าทะลายโจร
ซึ่งขึ้นบัญชียาหลักแห่งชาติในการรักษาโรคโควิด-19 ทดแทนยาฟาวิพิราเวียร์ซึ่งขาดแคลน นอกจากนี้ สามารถให้แพทย์ พยาบาล ใช้ระบบวิดิโอคอล
สอบถามอาการรายวันผู้ติดเชื้อที่กักตัวอยู่บ้าน
จัดตั้งงบประมาณจัดซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิ หรือปรอทแบบราคาไม่แพง
เครื่องวัดออกซิเจนในกระแสเลือด รวมถึงจัดอาหาร ของใช้จำเป็น โดยใช้งบประมาณที่บอร์ดอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพ13
กรุงเทพมหานครดูแลได้ โดยได้รับอนุมัติงบประมาณจาก สปสช. หรือเงินกองทุน
หลักประกันสุขภาพของกรุงเทพมหานครซึ่งมีเงินอยู่ถึงพันห้าร้อยล้านบาท
ซึ่งบอร์ดอนุกรรมการหลักประกันประเมินว่า
การใช้คลินิกอบอุ่นรวมใจมีต้นทุนดูแลผู้ติดเชื้อ 1 คนประมาณไม่เกิน 200
บาทต่อวันขณะที่ถ้าส่งตัวผู้ติดเชื้อไปกักที่โรงพยาบาลสนามจะใช้งบประมาณ 1,500
บาทต่อวัน ซึ่งประหยัดและคล่องตัวกว่า ดูแลผู้ติดเชื้อในระดับสีเขียว และสีเหลือง
แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการขึ้นระดับสีแดง จึงค่อยประสานส่งตัวต่อไป
.
“วันนี้
คนติดเชื้อมีมากกว่าจำนวนเตียงและบุคลากรการแพทย์แล้ว ถ้าให้ทุกคนไปกระจุกตัวที่โรงพยาบาล
มีเตียงเท่าใดก็ไม่พอ ให้คลินิกชุมชนอุ่นใจ ช่วยรับภาระ ให้งบประมาณจำนวนหนึ่ง
ให้เขาลงพื้นที่ดูแลคนติดเชื้อในชุมชนในเคสที่เป็นระดับสีเขียวโดยไม่ต้องไปรอกันที่โรงพยาบาลสนาม
จะช่วยลดภาระโรงพยาบาลได้และคล่องตัวมากกว่า” นายวิชาญ กล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น